วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระบบในร่างกาย

                         การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์  สามารถแบ่งออกได้  4  ระดับ  ดังนี้
                             1.  ระดับเซลล์  ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่าง  และขนาดต่างกันไปตามหน้าที่การทำงาน
                             2.  ระดับเนื้อเยื่อ  คือกลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกัน  เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เนื้อเยื่อแบ่งได้เป็น  4  ชนิด  คือ  เนื้อเยื่อผิว  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ  และเนื้อเยื่อประสาท
                              3.  ระดับอวัยวะ  เกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ หลายอวัยวะ  ถ้าเราแข็งแรงและมีสุขภาพดี  ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายก็จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพแสดงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
Œ  สมอง  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว  เป็นศูนย์กลางของความคิดความจำและอารมณ์ต่าง ๆ
  ปอด  เป็นส่วนหนึ่งของระบบการหายใจ  ทำหน้าที่แลก เปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่ร่างกาย
Ž  ไต   เป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่าย  ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด
  กระดูก  เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงกระดูก  ทำหน้าที่ช่วยพยุงและป้องกันอันราย  ช่วยในการเคลื่อนไหว
  หัวใจ  เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนของร่างกาย  ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
  กระเพาะอาหาร  เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร  ทำหน้าที่เป็นที่พักคลุกเคล้าและย่อยอาหาร
  อวัยวะเพศ  เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
                                4.  ระดับระบบร่างกาย  อวัยวะหลาย ๆ ชนิดทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เรียกว่า  ระบบร่างกาย  ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบร่างกายหลายระบบ  ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานประสานสัมพันธ์กัน  เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ  ถ้าระบบร่างกายใดทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง  จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย  เช่น  ระบบย่อยอาหาร  ระบบประสาท  ระบบโครงกระดูก

ระบบย่อยอาหาร

         การย่อยอาหาร  คือการทำให้โมเลกุลของอาหารที่มีขนาดใหญ่  ไม่ละลายน้ำถูกเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลง  ละลายน้ำ  และสามารถดูดซึมเข้าสู่กระเลือดได้  ซึ่งการทำงานของระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วยการทำงานของส่วนประกอบ ๆ ดังนี้
                1.   ปาก  มีฟันทำหน้าที่กัด  เคี้ยวและบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง
                2.   หลอดอาหาร  เป็นท่อแคบ ๆ มีกล้ามเนื้อ  2  ชั้นบีบตัว  ทำให้อาหารเคลื่อนที่จากปากลงสู่กระเพาะอาหาร
                3.   กระเพาะอาหาร  เป็นที่รองรับอาหารจากหลอดอาหาร  อาหารจะถูกคลุกเคล้ากับเอนไซม์หรือน้ำย่อย
                4.   ลำไส้เล็ก  เป็นบริเวณที่อาหารส่วนใหญ่จะถูกย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลง  และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
                5.   ลำไส้ใหญ่  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุที่ยังตกค้างกลับคืนสู่ร่างกาย

         การดูดซึมอาหาร
                สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่ถูกย่อยจนมีขนาดเล็ก  จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กที่มีลักษณะเป็นปุ่มที่เรียกว่า  วิลลัส (villus)  ที่ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก  เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหาร  นอกจากนี้  ยังมีหลอดเลือดฝอยทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด  และดูดซึมไขมันที่ย่อยแล้วเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง  จากนั้นสารอาหารจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ร่างกายจะนำไปใช้ต่อไป

หัวใจ

         การลำเลียงสารไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายจำเป็นต้องอาศัยระบบการไหลเวียนเลือด  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  ระบบ  คือ
                1.   ระบบวงจรเปิด (open  circulatory  system)  พบในสัตว์พวกแมลง  หอย  และดาวทะเล 
         2.   ระบบวงจรปิด  (closed  circulatory  system)  พบในสัตว์พวกไส้เดือนดิน  หมึก  และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
         ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์เป็นระบบวงจรปิด  ซึ่งมีหัวใจทำหน้าที่เป็นอวัยวะสำคัญที่สุด  หัวใจของมนุษย์มีขนาดเล็กเท่ากับกำปั้นของผู้ที่เป็นของมีทั้งหมด  4  ห้อง  คือ  ห้องบน  2  ห้อง  และห้องล่าง  2  ห้อง  ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนสูงผ่านหลอดเลือด  เพื่อไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างเป็นระบบ  มนุษย์ปกติหัวใจจะเต้นนาทีละ  72  ครั้ง  เลือดผ่านหัวใจประมาณ  75  ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อการเต้น  1  ครั้ง

อาหารและสารอาหาร


อาหารหลัก         5 หมู่
สารอาหาร
แหล่งอาหารที่พบมาก
อาหารหมู่ที่ 1
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว
โปรตีน
เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ กุ้ง
หอย  ปู  ปลา
อาหารหมู่ที่ 2
แป้ง / น้ำตาล
คาร์โบไฮเดรต
ข้าว  แป้ง  น้ำตาล  เผือก
มัน
อาหารหมู่ที่ 3
ผัก
เกลือแร่และวิตามิน
ผักต่างๆ  ผลไม้
อาหารหมู่ที่ 4
ผลไม้
วิตามินและเกลือแร่
ผลไม้ชนิดต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 5
ไขมัน
ไขมัน
ไขมันจากพืช  และไขมันจากสัตว์

ข้อกำหนดความต้องการพลังงานที่ควรได้รีบใน  1  วันสำหรับเด็กไทย
เพศ
อายุ
(ปี)
พลังงาน
(กิโลแคลอรี)

เด็กเล็ก


         
เด็กผู้ชาย




    เด็กผู้หญิง

1-3
4-6
7-9
10-12
13-15
16-19
10-12
13-15
16-19


1,200
1,450
1,600
1,800
2,300
2,400
1,700
2,000
1,850










ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2544

ตารางแสดงพลังงานของอาหารจานเดียว

ชนิดของอาหาร

ปริมาณ(กรัม)

พลังงาน(กิโลแคลอรี)

 1. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัวน้ำ
 2. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้ากุ้ง
 3. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่เย็นตาโฟน้ำ
 4. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าไก่
 5. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดน้าหมู
 6. ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ
 7. ก๋วยเตี๋ยวแกง
 8. ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งหมู
 9. ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่
10. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ้วหมูใส่ไข่
447
354
494
354
354
381
350
235
244
350
226
292
352
385
397
417
454
530
577
679
11. ขนมจีนน้ำเงี้ยว
12. ขนมยำปักษ์ใต้
13. ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้
14. ขนมจีนน้ำยา
15. ขนมจีนซาวน้ำ
16. ขนมจีนน้ำพริก
323
189
305
435
345
367
243
248
256
332
411
497
17. กระเพาะปลาปรุงสำเร็จ
18. หอยแมลงภู่ทอดใส่ไข่
19. หมี่กะทิ
20. หมี่กรอบ
21. ขนมผักกาดใส่ไข่
392
197
272
114
298
239
428
466
574
582
22. ข้าวขาหมู
23. ข้าวแกงเขียวหวานไก่
24. ข้าวหมูแดง
25. ข้าวผักกะเพราไก่
26. ข้าวผัดหมูใส่ไข่
27. ข้าวมันไก่
28. ข้าวคลุกกะปิ
289
318
320
293
315
300
296
438
483
540
554
557
596
614
ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


อันตรายของสารต่างๆ
                1.  น้ำตาล เป็นสารที่ใส่เพื่อให้อาหารมีรสหวาน  น้ำตาลมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  ซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย  แต่บางครั้งพ่อค้าอาจใช้ซัคคารีน (ขัณฑกร)  แทน  ซัคคารีนมีความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ  300  เท่า  ไม่มีคุณค่าทางอาหาร  ใช้ใส่ในน้ำเชื่อม  น้ำอัดลม  หมากฝรั่ง  ผลไม้ดอง  และอื่นๆ  เพื่อประหยัดน้ำตาล  บางคนรับประทานเพียงเล็กน้อยก็มีอาการแพ้ได้    เช่นอาเจียน  ท้องเดิน  ผิวหนังเป็นผื่นแดง  ถ้ารับประทานมากและเป็นเวลานาน  จะคลื่นไส้  อาเจียน  ซึม  ชัก 
                2.  น้ำปลา  ได้จากการหมักปลากับเกลือเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี  แล้วนำมากรอง  หลังจากนั้นนำไปผึ่งแดด  2 – 4 สัปดาห์  จะได้น้ำปลาดีเก็บไว้ได้นาน  น้ำปลาดังกล่าวมีคุณค่าทางอาหารเพราะมีโปรตีนและเกลือแร่  แต่เนื่องจากน้ำปลาดีมีราคาสูง  และการผลิตต้องใช้เวลานานจึงมีผู้ผลิตน้ำปลาราคาถูกโดยวิธีต่างๆ  เช่น  ทำจากของเหลว  ที่เหลือจากการผลิตผงชูรส  แล้วเติมหัวน้ำปลา  น้ำปลาเหล่านี้อาจมีคุณค่าทางอาหารน้อยและอาจเป็นอันตรายเนื่องจากสารที่ใส่ในการเติมแต่งสีและกลิ่น

ผงชูรส
                ผงชูรส  ใส่ในอาหารเพื่อให้อาหารมีรสดีขึ้น  แต่ผงชูรสไม่มีคุณค่าทางอาหาร  นอกจากนี้ผงชูรสอาจมีสารปลอมปนได้  เช่น  โบแรกซ์  และโซเดียมเมตตาฟอสเฟต  ซึ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้  เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร
                อย่างไรก็ตามผู้รับประทานผงชูรสแท้ก็อาจมีอาการแพ้ได้  เช่น  มีอาการชาที่ปาก  ลิ้น  ปวดกล้ามเนื้อที่โหนกแก้ม  ต้นคอ  หน้าอก  หัวใจเต้นช้าลง  ปวดท้องเนื่องจากการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้  คลื่นไส้  อาเจียน  ผิวหนังร้อนวูบวาบ  เป็นผื่น  ความรุนแรงของอาการขึ้นกับบุคคลและปริมาณที่รับประทาน  หญิงมีครรภ์และเด็กไม่ควรรับประทาน  เพราะถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานจะเป็นโรคเหน็บชา  สมองเด็กพิการเพราะเซลล์สมองถูกทำลาย  หรืออาจเป็นโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมอง

ผงบอแรกซ์
                บอแรกซ์เป็นสารสังเคราะห์  ที่มีลักษณะเป็นผลึกกลมเล็กๆไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น  โดยปกติใช้ในการเชื่อมเส้นทอง เรียกว่า น้ำประสานทอง ผงบอแรกซ์ใส่ในอาหารและขนมทำให้กรอบ   ผงบอแรกซ์เป็นอันตราบต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร  ลำไส้  ทำให้เบื่ออาหาร  อาเจียน  ถ่ายอุจจาระบ่อย  คลื่นไส้  ถ้าได้รับพิษมากๆจะอาเจียนเป็นโลหิต  กล้ามเนื้อกระตุก  ความดันต่ำ  และหมดสติ  ถ้าเด็กมีปริมาณบอแรกซ์สะสมในร่างกายเกิน  5  กรัม  จะทำให้เสียชีวิตได้  ผู้ใหญ่ถ้ามีปริมาณบอแรกซ์สะสมในร่างกายเกิน  15  กรัม  จะทำให้เสียชีวิตได้

P      น้ำส้มสายชูที่สามารถกินได้อย่างปลอดภัยมี  2  ชนิดคือ
1.             น้ำส้มสายชูแท้  ได้แก่น้ำส้มสายชูหมัก  และน้ำส้มสายชูกลั่น
น้ำส้มสายชูหมัก   ได้จากการนำธัญพืช  ผลไม้  หรือน้ำตาล  มาหมักกับส่าเหล้าแล้ว
หมักกับเชื้อน้ำส้มสายชู  ตามกรรมวิธีธรรมชาติ
น้ำส้มสายชูกลั่น ได้จากการนำแอลกอฮอล์มาหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูแล้วนำไปกลั่น  หรือ
ได้จากการนำน้ำส้มสายชูหมักมากลั่น
2.             น้ำส้มสายชูเทียม  ได้จากการนำเอากรดน้ำส้มมาทำให้เจือจาง  โดยผสมกับน้ำ
P      น้ำส้มสายชูที่กินแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกาย
น้ำส้มสายชูปลอม  ทำจากกรดกำมะถันผสมน้ำให้เจือจาง  (กรดกำมะถันเป็นกรดที่มีฤทธิ์    กัดกร่อนรุนแรง  ใช้ในวงการอุตสาหกรรม  หรือเติมแบตเตอรี)

เรื่องสีผสมอาหาร
                สีผสมอาหารเป็นสารที่ใช้แต่งอาหารให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทาน  สีผสมอาหารที่เราใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัย   ควรเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ  โดยสกัดจากพืชผักเช่น  สีแดงของดอกกระเจี๊ยบ  สีเขียวของใบเตย  หรือเป็นสีผสมอาหารขององค์การเภสัชกรรม  ซึ่งสีชนิดนี้เป็นสีสังเคราะห์ที่ผลิตจากสารเคมีไม่ใช่สีจากธรรมชาติ แต่มีผู้ประกอบอาหารบางรายนำสีย้อมผ้ามาใช้แทนสีผสมอาหาร  เนื่องจากสีย้อมผ้ามีราคาถูกกว่า  และมีสีสันสวยงามสดกว่าสีผสมอาหาร  สีประเภทนี้มีอันตรายต่อผู้บริโภค
                ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหารจึงไม่ควรซื้ออาหารที่มีสีฉูดฉาด  เพียงเพราะเห็นแก่ความสวยงาม  ดูน่ารับประทาน  เพราะอาจผสมด้วยสีย้อมผ้า  สีประเภทนี้เมื่อรับประทานเข้าไปอาจได้รับอันตรายจากสารจำพวกตะกั่ว  ปรอท ซึ่งเมื่อสารเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายมากขึ้น จะทำให้มีอาการเฉื่อยชา  ซูบซีด  มีอาการโลหิตจาง  สติปัญญาเสื่อม  รวมทั้งมีอาการท้องเดิน  น้ำหนักลด  อ่อนเพลีย  และอาจเสียชีวิตได้

อาหารห้ามใส่สี  17 รายการ

1.  ไม่ให้ใช้สีทุกชนิดในอาหารดังต่อไปนี้
1.1            อาหารทารก
1.2            นมดัดแปลงสำหรับทารก
1.3            อาหารเสริมสำหรับเด็ก
1.4            ผลไม้สด  ผลไม้ดอง
1.5            ผักดอง
1.6            เนื้อสัตว์ที่ปรุงแต่ง  และทำให้เค็มหรือหวาน  เช่นปลาเค็ม  กุ้งเค็ม   เนื้อเค็ม
       หอยเค็ม   ปลาหวาน   กุ้งหวาน  ฯลฯ
1.7            เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง รมควัน  หรือทำให้แห้ง เช่นปลาแห้ง กุ้งแห้ง  หอยแห้ง 
1.8            แหนม
1.9            กุนเชียง  ไส้กรอก
1.10     ลูกชิ้น  หมูยอ
1.11     ทอดมัน
1.12     กะปิ
1.13     ข้าวเกรียบ  เช่นข้าวเกรียบกุ้ง  ข้าวเกรียบปลา  หรือข้าวเกรียบในรูปลักษณะต่างๆ
2.  เนื้อสัตว์สดทุกชนิด ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด เว้นแต่ผงขมิ้น หรือผงกะหรี่สำหรับไก่เท่านั้น
3.  ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด เว้นแต่สีที่ได้จากธรรมชาติในอาหารต่อไปนี้
1.1           เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ย่าง  อบ  นึ่ง  หรือทอด  เช่น ไก่ หมู เนื้อ ย่าง อบ นึ่ง หรือทอด
1.2           บะหมี่สำเร็จรูป    เส้นบะหมี่  แผ่นเกี๊ยว  สปาเกตตี  และมักโรนี
1.3           น้ำพริกแกง