วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระบบในร่างกาย

                         การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์  สามารถแบ่งออกได้  4  ระดับ  ดังนี้
                             1.  ระดับเซลล์  ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่าง  และขนาดต่างกันไปตามหน้าที่การทำงาน
                             2.  ระดับเนื้อเยื่อ  คือกลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกัน  เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เนื้อเยื่อแบ่งได้เป็น  4  ชนิด  คือ  เนื้อเยื่อผิว  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ  และเนื้อเยื่อประสาท
                              3.  ระดับอวัยวะ  เกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ หลายอวัยวะ  ถ้าเราแข็งแรงและมีสุขภาพดี  ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายก็จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพแสดงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
Œ  สมอง  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว  เป็นศูนย์กลางของความคิดความจำและอารมณ์ต่าง ๆ
  ปอด  เป็นส่วนหนึ่งของระบบการหายใจ  ทำหน้าที่แลก เปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่ร่างกาย
Ž  ไต   เป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่าย  ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด
  กระดูก  เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงกระดูก  ทำหน้าที่ช่วยพยุงและป้องกันอันราย  ช่วยในการเคลื่อนไหว
  หัวใจ  เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนของร่างกาย  ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
  กระเพาะอาหาร  เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร  ทำหน้าที่เป็นที่พักคลุกเคล้าและย่อยอาหาร
  อวัยวะเพศ  เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
                                4.  ระดับระบบร่างกาย  อวัยวะหลาย ๆ ชนิดทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เรียกว่า  ระบบร่างกาย  ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบร่างกายหลายระบบ  ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานประสานสัมพันธ์กัน  เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ  ถ้าระบบร่างกายใดทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง  จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย  เช่น  ระบบย่อยอาหาร  ระบบประสาท  ระบบโครงกระดูก

ระบบย่อยอาหาร

         การย่อยอาหาร  คือการทำให้โมเลกุลของอาหารที่มีขนาดใหญ่  ไม่ละลายน้ำถูกเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลง  ละลายน้ำ  และสามารถดูดซึมเข้าสู่กระเลือดได้  ซึ่งการทำงานของระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วยการทำงานของส่วนประกอบ ๆ ดังนี้
                1.   ปาก  มีฟันทำหน้าที่กัด  เคี้ยวและบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง
                2.   หลอดอาหาร  เป็นท่อแคบ ๆ มีกล้ามเนื้อ  2  ชั้นบีบตัว  ทำให้อาหารเคลื่อนที่จากปากลงสู่กระเพาะอาหาร
                3.   กระเพาะอาหาร  เป็นที่รองรับอาหารจากหลอดอาหาร  อาหารจะถูกคลุกเคล้ากับเอนไซม์หรือน้ำย่อย
                4.   ลำไส้เล็ก  เป็นบริเวณที่อาหารส่วนใหญ่จะถูกย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลง  และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
                5.   ลำไส้ใหญ่  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุที่ยังตกค้างกลับคืนสู่ร่างกาย

         การดูดซึมอาหาร
                สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่ถูกย่อยจนมีขนาดเล็ก  จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กที่มีลักษณะเป็นปุ่มที่เรียกว่า  วิลลัส (villus)  ที่ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก  เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหาร  นอกจากนี้  ยังมีหลอดเลือดฝอยทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด  และดูดซึมไขมันที่ย่อยแล้วเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง  จากนั้นสารอาหารจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ร่างกายจะนำไปใช้ต่อไป

หัวใจ

         การลำเลียงสารไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายจำเป็นต้องอาศัยระบบการไหลเวียนเลือด  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  ระบบ  คือ
                1.   ระบบวงจรเปิด (open  circulatory  system)  พบในสัตว์พวกแมลง  หอย  และดาวทะเล 
         2.   ระบบวงจรปิด  (closed  circulatory  system)  พบในสัตว์พวกไส้เดือนดิน  หมึก  และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
         ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์เป็นระบบวงจรปิด  ซึ่งมีหัวใจทำหน้าที่เป็นอวัยวะสำคัญที่สุด  หัวใจของมนุษย์มีขนาดเล็กเท่ากับกำปั้นของผู้ที่เป็นของมีทั้งหมด  4  ห้อง  คือ  ห้องบน  2  ห้อง  และห้องล่าง  2  ห้อง  ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนสูงผ่านหลอดเลือด  เพื่อไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างเป็นระบบ  มนุษย์ปกติหัวใจจะเต้นนาทีละ  72  ครั้ง  เลือดผ่านหัวใจประมาณ  75  ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อการเต้น  1  ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น